ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย เจมส์ ลอว์
JAMES LAW SECURITY TRAINING CENTER / STJ
เรามีวิทยกรที่เชี่ย่วชาญเฉพาะด้านคอยให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย การขอใบอนุญาตในการเริ่มต้น ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมพร้อมมีอะไรบ้าง การจัดสรรบุคลากรและควบคุม รวมไปถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยต้องสำเร็จการอบรมอย่างไรบ้าง ตามข้อกำหนดมาตรฐานหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย หรือเรียกว่า “หลักสูตร รปภ.” ผู้ที่จะประกอบอาชีพ รปภ.ต้องฝึกอบรม ทฤษฎี 16 ชั่วโมง ปฏิบัติ 24 ชั่วโมง รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง และต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะผ่านการอบรม และการอบรมต้องอบรมในสถานที่ที่ได้มาตรฐานสถานฝึกอบรมตามกฎหมาย ภาคปฏิบัติจะฝึกระเบียบแถว การทำความเคารพ การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าและกระบอง และอาวุธศึกษา และ กฎหมายยังกำหนด บัตรประจำตัวพนักงานรปภ.ที่ได้รับอนุญาต ของบริษัทรักษาความปลอดภัย ที่ต้องมีรูปถ่าย ระบุชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขใบอนุญาต วันออกและวันสิ้นสุดอายุของบัตร โดยมีกรรมการผู้จัดการบริษัทลงนามในบัตร เหล่านี้ที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อให้ท่านได้ประกอบธุรกิจได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยหัวข้อการฝึกอบรมเบื้องต้นมีดังนี้
1. ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ รปภ.
2. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย
3. การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
4. การเขียนรายงาน
5. การเตรียมความพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน
6. การติดต่อสื่อสารและภาษาอังกฤษในงาน รปภ.
7. หลักการใช้กำลัง
8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
9. การจราจร
10.การฝึกภาคสนาม
รวมทั้งสิ้น 60 ชม. ดังตารางในรูปประกอบ
สนใจโทร 083-935-5915 , 062-993-9516
ระเบียบการรับสมัครพนักงานรักษาความปลอดภัย
1. ชายตำแหน่งหัวหน้าทีชุด รปภ ควบคุมหน่วยงานรับอายุตั้งแต่ 25-45 ปี วุฒิการศึกษา ระดับ ม.3 ขึ้นไป และมีประสบการณ์ผ่านงานการบริการ รปภ อย่างน้อย 2 ปี
2. ชายตำเหน่งพนักงาน รปภ รับอายุ 18-55 ปี วุฒิการศึกษา ป.6 ขึ้นไป หรืออ่านออก เขียนได้คล่อง
3. หญิงตำแหน่งพนักงาน รปภ รับอายุ 18-55 ปี
4. ก่อนเข้าปฏิบัติงานต้องผ่านการอบรม 7 วันอย่างน้อย หรือผ่านการฝึกอบรมแล้วอย่างดี
5. พนักงานทุกนายปฏิบัติหน้าที่วันละ 12 ชม. หรือ สัปดาห์ละ 6 วัน
6. บริษัทฯ จัดสแตนด์บายให้ตามจำนวนพนักงาน 6 นายต่อสแตนด์บาย 1 นาย
7. บริษัทฯ จัดสายตรวจเข้าตรวจจุด ผลัดละ 1 ครั้ง รวมวันละ 2 ครั้ง และ จัดเจ้าหน้าที่ ข้าพบผู้ว่าจ้าง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
8. บริษัทฯจัดครูฝึกเข้าอบรม รปภ เดือนละ 1 ครั้ง ตามหน่วยงานที่บริการอยู่
บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงมีโอกาสได้รับใช้ท่าน ณ โอกาสนี้ด้วย
อุปกรณ์ในการปฎิบัติหน้าที่
1. วิทยุสื่อสารในการประสานงานปฎิบัติงาน ทางบริษัท ฯ จะจัดให้ตามความเหมาะสม
2. กุญแจมือ
3. กระบอง
4. สายจราจร
5. เสื้อสะท้อนแสง
6. เสื้อกันฝน
7. รองเท้ากันฝน
8. ไฟฉาย
9. กระบองไฟฟ้าถ้าจำเป็น
10. สมุดบันทึกรายละเอียดของงานทุกจุด
11. อื่น ๆ ในกรณีจำเป็น ทางบริษัทพร้อมจัดให้ฟรี
หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท ฯ
1. ดูแล ป้องกัน รักษาทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้รอดพ้นจากการโจรกรรม อัคคีภัย และเหตุร้ายอื่นๆ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
2. ดูแล รักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณที่รับผิดชอบตลอด 24 ชั่วโมง
3. ดูแล ตรวจสอบการผ่านเข้า-ออก ของบุคคลและยานพาหนะ
4. ตรวจสอบทรัพย์สินที่จะนำเข้า หรือส่งออกภายในบริเวณที่รับผิดชอบตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
5. อำนวยความสะดวกการจราจร ทางเข้า-ออก และบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ
6. ตรวจค้นพนักงาน คนงานของผู้ว่าจ้างตามระเบียบของผู้ว่าจ้าง เมื่อเลิกงานหรือก่อนที่จะออกไปนอกบริเวณบริษัทฯโรงงาน หรือกิจการอื่นๆตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
7. รปภ.มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล การลงเวลาเข้า-ออก ในการทำงานของพนักงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างเพื่อป้องกันการทุจริต
8. เปิด-ปิดประตูทางเข้า-ออก อาคารหรือสถานที่ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้
9. มีหน้าที่เปิด-ปิดไฟฟ้า ตามเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด
10. มีหน้าที่เดินตรวจตราตามจุดต่างๆภายในบริเวณหน่วยงานที่รับผิดชอบทุก 1 ชั่งโมง
11. หน่วยงานใดที่มีหัวหน้าชุด ให้หัวหน้าชัดเดินตรวจตรา ดูการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามจุดต่างๆ
12. ดูแล ป้องกัน การเกิดเพลิงไหม้ โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ จะต้องผ่านการฝึกอบรมในการดับเพลิงเบื้องต้น
13. พนักงานรักษาความปลอดภัย ต้องบันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อรายงานเสนอผู้ว่าจ้างเป็นประจำทุกวัน หากมีปัญหาขัดข้อง หรือมีเหตุพิเศษ ต้องรายงานให้ผู้ว่าจ้าง และผู้เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย
1. การปฏิบัติหน้าที่ประจำจุด ช่องทางเข้า-ออก
- อำนวยความสะดวกและต้อนรับ ผู้ที่มาติดต่อ จนสร้างความประทับใจแก่บุคคลทั่วไปเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงามแก่องค์กร
- ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของบุคคล/ยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมายในการรักษาความปลอดภัยและการพิทักษ์ประโยชน์แก่องค์กร
- จดบันทึก แลกบัตรบุคคล / ยานพาหนะ สอบถามว่ามีติดต่อผู้ใด ด้วยเรื่องอะไร จากนั้นให้ติดต่อสอบถามและขออนุญาตบุคคลที่แจ้งว่าจะมีผู้มาติดต่อ จะอนุญาตให้เข้าไปติดต่อหรือไม่
2. การดูแลความเรียบร้อยทั่วไป
- เฝ้าระวังภัยต่างๆอย่างรัดกุม
- เข้าระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอบถามหรือตรวจค้นต่อบุคคลต้องสงสัยได้อย่างมีศิลปะเหมาะสมกับเหตุการณ์
- ควบคุมต่อผู้กระทำความผิดได้ทันท่วงทีตามความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
3. การตรวจตรายามวิกาล
- เดินตรวจตราทั่วบริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ด้วยความถี่เพียงพอ ต่อการป้องกันการเข้ามาประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินหน่วยงาน
- เดินตรวจตราบริเวณสถานประกอบการ เพื่อป้องกันพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ว่าจ้างลักลอบเล่นการพนัน และมั่วสุมยาเสพติดหากพบการกระทำความผิดให้รีบแจ้งผู้ว่าจ้างทราบทันที
- ตรวจสอบถานภาพทรัพย์สินที่ล่อแหลม ตามรายการที่ระบุไว้
4. การควบคุมการนำสิ่งของ เข้า-ออก
- ตรวจสอบบุคคลยานพาหนะที่นำเข้า-ออกจากหน่วยงาน
- ตรวจสอบใบอนุญาต หรือใบผ่านจากผู้มีอำนาจอนุญาต
5. การดูแลสาธารณูปโภค
- สำรวจตรวจตราการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า และแสงสว่างให้อยู่ในช่วงเวลาและตามจุดที่กำหนดไว้
- ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณป้อมยาม และบริเวณรักษาการณ์