หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท ฯ
1. ดูแล ป้องกัน รักษาทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้รอดพ้นจากการโจรกรรม อัคคีภัย และเหตุร้ายอื่นๆ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
2. ดูแล รักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณที่รับผิดชอบตลอด 24 ชั่วโมง
3. ดูแล ตรวจสอบการผ่านเข้า-ออก ของบุคคลและยานพาหนะ
4. ตรวจสอบทรัพย์สินที่จะนำเข้า หรือส่งออกภายในบริเวณที่รับผิดชอบตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
5. อำนวยความสะดวกการจราจร ทางเข้า-ออก และบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ
6. ตรวจค้นพนักงาน คนงานของผู้ว่าจ้างตามระเบียบของผู้ว่าจ้าง เมื่อเลิกงานหรือก่อนที่จะออกไปนอกบริเวณบริษัทฯโรงงาน หรือกิจการอื่นๆตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
7. รปภ.มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล การลงเวลาเข้า-ออก ในการทำงานของพนักงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างเพื่อป้องกันการทุจริต
8. เปิด-ปิดประตูทางเข้า-ออก อาคารหรือสถานที่ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้
9. มีหน้าที่เปิด-ปิดไฟฟ้า ตามเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด
10. มีหน้าที่เดินตรวจตราตามจุดต่างๆภายในบริเวณหน่วยงานที่รับผิดชอบทุก 1 ชั่งโมง
11. หน่วยงานใดที่มีหัวหน้าชุด ให้หัวหน้าชัดเดินตรวจตรา ดูการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามจุดต่างๆ
12. ดูแล ป้องกัน การเกิดเพลิงไหม้ โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ จะต้องผ่านการฝึกอบรมในการดับเพลิงเบื้องต้น
13. พนักงานรักษาความปลอดภัย ต้องบันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อรายงานเสนอผู้ว่าจ้างเป็นประจำทุกวัน หากมีปัญหาขัดข้อง หรือมีเหตุพิเศษ ต้องรายงานให้ผู้ว่าจ้าง และผู้เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย
1. การปฏิบัติหน้าที่ประจำจุด ช่องทางเข้า-ออก
- อำนวยความสะดวกและต้อนรับ ผู้ที่มาติดต่อ จนสร้างความประทับใจแก่บุคคลทั่วไปเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงามแก่องค์กร
- ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของบุคคล/ยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมายในการรักษาความปลอดภัยและการพิทักษ์ประโยชน์แก่องค์กร
- จดบันทึก แลกบัตรบุคคล / ยานพาหนะ สอบถามว่ามีติดต่อผู้ใด ด้วยเรื่องอะไร จากนั้นให้ติดต่อสอบถามและขออนุญาตบุคคลที่แจ้งว่าจะมีผู้มาติดต่อ จะอนุญาตให้เข้าไปติดต่อหรือไม่
2. การดูแลความเรียบร้อยทั่วไป
- เฝ้าระวังภัยต่างๆอย่างรัดกุม
- เข้าระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอบถามหรือตรวจค้นต่อบุคคลต้องสงสัยได้อย่างมีศิลปะเหมาะสมกับเหตุการณ์
- ควบคุมต่อผู้กระทำความผิดได้ทันท่วงทีตามความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
3. การตรวจตรายามวิกาล
- เดินตรวจตราทั่วบริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ด้วยความถี่เพียงพอ ต่อการป้องกันการเข้ามาประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินหน่วยงาน
- เดินตรวจตราบริเวณสถานประกอบการ เพื่อป้องกันพนักงานหรือลูกจ้างของผู้ว่าจ้างลักลอบเล่นการพนัน และมั่วสุมยาเสพติดหากพบการกระทำความผิดให้รีบแจ้งผู้ว่าจ้างทราบทันที
- ตรวจสอบถานภาพทรัพย์สินที่ล่อแหลม ตามรายการที่ระบุไว้
4. การควบคุมการนำสิ่งของ เข้า-ออก
- ตรวจสอบบุคคลยานพาหนะที่นำเข้า-ออกจากหน่วยงาน
- ตรวจสอบใบอนุญาต หรือใบผ่านจากผู้มีอำนาจอนุญาต
5. การดูแลสาธารณูปโภค
- สำรวจตรวจตราการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า และแสงสว่างให้อยู่ในช่วงเวลาและตามจุดที่กำหนดไว้
- ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณป้อมยาม และบริเวณรักษาการณ์